สถิติตลาดแรงงาน
อินดิเคเตอร์นี้เป็นอินดิเคเตอร์ประเภทชี้นำ ตัวเลขระดับการจ้างงาน, อัตราการว่างงาน และปริมาณการสร้างงานใหม่เป็นดัวชี้วัดสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันได้อย่างชัดเจนในประเทศนั้น ๆ เมื่อคนมีงานทำมากขึ้นรายได้ก็จะมีมากขึ้น ทำให้การบริโภคเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมนักเศรษฐศาสตร์และผู้วางนโยบายทางเศรษฐกิจใช้ตัวเลขสถิติเหล่านี้มาก ธนาคารกลางหลายแห่งหรือแม้กระทั่งธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกายังต้องดูสถิตินี้ก่อนที่จะดำเนินการนโยบายใด ๆ
ประมาณ 80% ของรายการเทรดทั้งหมดในตลาดฟอเร็กซ์ทำกันในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ทำให้ตัวเลขด้านแรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกามีความสำคัญมาก ตัวเลขส่วนใหญ่ที่คุณต้องการจะถูกประกาศในวันศุกร์แรกของทุกเดือน มีดังนี้:
- Non-Farm Payrolls เป็นตัวเลขการจ้างงานในนอกภาคการเกษตร
- อัตราการว่างงาน
- รายได้ต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ย
ในช่วงการประกาศตัวเลข Non-Farm Payrolls สามารถทำให้ราคาในตลาดกระโดดไปได้ถึง 100-150 pip เทรดเดอร์หลายคนจะหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เทรดเดอร์อีกกลุ่มหนึ่งก็พยายามที่จะหาช่องทางการทำกำไรจากข่าวนี้
อัตราเงินเฟ้อ
นี่เป็นอินดิเคเตอร์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของเทรดเดอร์ฟอเร็กซ์ อัตราเงินเฟ้อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในต้นทุนของสินค้าและบริการในช่วงเวลาหนึ่ง
ธนาคารกลางหลายแห่ง เช่น Fed และ BoE จะมีการตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อไว้ โดยธนาคารเหล่านั้นจะพยายามบรรลุเป้าหมายด้วยการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่ผ่านการคิดอย่างรอบคอบ
เทรดเดอร์ฟอเร็กซ์สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับระดับอัตราเงินเฟ้อได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยข้อมูลในเดือนก่อนหน้าจะถูกเผยแพร่ในช่วงกลางเดือนถัดไป
เงินเฟ้อมีอยู่หลายแบบ:
- เชิงลบ - เป็นเหตุให้ระดับเศรษฐกิจลดลง
- เชิงบวก - ประเภทอัตราเงินเฟ้อที่ผู้กำหนดนโยบายพยายามยึดมั่น การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ 2% ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจ
- เงินเฟ้อรุนแรงคืออัตราเงินเฟ้อสูงมากที่สามารถทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศได้โดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้ว อัตราเงินเฟ้อรุนแรงนี้จะถูกควบคุมด้วยนโยบายด้านการเงินที่รัดกุม
GDP
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่แม่นยำที่สุดที่ใช้ชี้วัดสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ GDP แสดงให้เห็นมูลค่าทางตลาดของสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นล่วงหน้า
รายงานที่สำคัญของ GDP นั้นมีอยู่มากมาย ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดต่อตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศนั้นมีการรายงานไว้ล่วงหน้า สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐจะมีการเผยแพร่รายงานทุกไตรมาส คุณสามารถประเมินอัตราค่าเงินได้โดยใช้บทวิเคราะห์และอินดิเคเตอร์จริง:
- หาก GDP เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็หมายความว่าดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น
- หากระดับ GDP ลดลงก็จะนำไปสู่การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐ
ผู้ค้ารายย่อย
อินดิเคเตอร์ที่สำคัญในระดับเศรษฐกิจอีกประเภท ยิ่งคนใช้จ่ายมาก สถานการณ์ทางการเงินในประเทศยิ่งดีขึ้น
ระดับของผู้ค้ารายย่อยนั้นส่งผลต่ออินดิเคเตอร์เศรษฐกิจหลายอย่าง:
- GDP
- การเพิ่มขึ้นของผลประกอบการบริษัท
- การแข็งค่าขึ้นของค่าเงิน
- เพิ่มปริมาณการลงทุน เป็นต้น
การคาดการณ์ระดับของผู้ค้ารายย่อยนั้นยากมาก แต่อินดิเคเตอร์ต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้:
- อัตราการว่างงาน
- ทัศนคติของผู้บริโภค - เชิงบวกหรือเชิงลบ
- ระดับการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดเทศกาล เป็นต้น
การประชุมของธนาคารกลาง
การติดตามผลของการประชุมดังกล่าวจะบอกให้คุณทราบเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและนโยบายทางการเงินที่อาจเข้มขึ้นหรือผ่อนคลายลงได้
ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐได้ควบคุมนโยบายการเงินของสหรัฐด้วยการซื้อหรือการขายพันธบัตรรัฐบาล:
- การขายเป็นสาเหตุให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นและมีนโยบายการเงินที่รัดกุมมากขึ้น เนื่องจากปริมาณเงินในระบบลดลง
- การซื้อนั้นกระตุ้นให้เกิดการผ่อนคลายนโยบายและอัตราดอกเบี้ยลดลง
สุดท้าย
แน่นอนว่า ในปฏิทินเศรษฐกิจนั้นมีเหตุการณ์ข่าวที่มีประโยชน์และสำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม อินดิเคเตอร์จากบทความนี้ก็ถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์หลัก ลองใช้อินดิเคเตอร์เหล่านี้ แล้วคุณจะสามารถประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อค่าเงินของประเทศได้อย่างง่ายดาย