สำหรับหัวข้อนี้ เราจะมาพูดถึงพื้นฐานของมันและวิธีที่คุณจะสามารถใช้ข่าวช่วยคุณทำงาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคืออะไร ?
ถ้าจะพูดง่าย ๆ มันก็คือการพยากรณ์พฤติกรรมราคาในช่วงที่มีข่าวด้านเศรษฐกิจและการเมืองออกมา ความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานส่งผลถึงระดับทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกัน ระดับทางเศรษฐกิจของประเทศก็ส่งผลต่อราคาของสกุลเงินประจำชาติ อย่างไรก็ตาม สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่ถูกต้องนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเข้าใจแนวโน้มทางเศรษฐกิจและแรงผลักดันของอัตราการแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างลึกซึ้ง
มีปัจจัยพื้นฐานที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์อยู่มากมาย ในจำนวนนี้ ได้แก่:
- อัตราการจ้างงาน/เลิกจ้างงาน
- GDP
- อัตราดอกเบี้ยในธนาคารกลาง
- ระดับการค้า (นำเข้า ส่งออก การขายอสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ เป็นต้น)
- คำปราศรัยของคณะกรรมการธนาคารกลาง
- อัตราเงินเฟ้อ
- เหตุสุดวิสัยต่าง ๆ (ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความขัดแย้งทางการทหาร สถานการณ์ด้านการเมือง)
มีข่าวสองประเภทที่ส่งผลกระทบต่อตลาดฟอเร็กซ์:
- ระยะสั้น - กระทบตั้งแต่หลายนาทีจนถึงหลายวัน มักจะใช้กับการเทรด 15 นาที ถึง 24 ชั่วโมง
- ระยะยาว - กระทบตั้งแต่หลายสัปดาห์จนถึงหลายปี ใช้กับออเดอร์ที่เปิดยาว
มันทำงานอย่างไร ?
การใช้ปฏิทินทางเศรษฐกิจ คุณจะได้รับการคาดการณ์ข่าวที่เลือกไว้ ซึ่งตามกฎแล้ว ตลาดจะมีปฏิกิริยาต่อจำนวนที่เกิดต่อสาธารณะในลักษณะต่อไปนี้:
- ผลการคาดการณ์ออกมาถูกต้อง - ตลาดจะมีปฏิกิริยาน้อยหรือแทบไม่มีเลย
- ปริมาณที่คาดการณ์เกินกว่ามูลค่าปัจจุบัน - ค่าเงินของชาตินั้น ๆ มักจะอ่อนค่า
- ปริมาณที่คาดการณ์ต่ำกว่ามูลค่าปัจจุบัน - ค่าเงินของชาตินั้น ๆ จะแข็งค่า
ขนาดของความแตกต่างระหว่างจำนวนในปัจจุบันกับการคาดการณ์ล่วงหน้ามักเกี่ยวข้องกัน ความแตกต่างยิ่งมาก ตลาดยิ่งมีปฏิกิริยามาก และหากการคาดการณ์ล่วงหน้าผิดพลาด เราก็สามารถคาดเดาได้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะกลับตัวแบบฉับพลัน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมีประสิทธิผลเสมอไปหรือไม่ ?
ไม่มีหนทางที่สมบูรณ์แบบในการคาดการณ์พฤติกรรมในอนาคตของคู่เงินได้ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาจไม่เกิดประสิทธิผลด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้:
- หากความแตกต่างระหว่างการคาดการณ์ล่วงหน้าและจำนวนในปัจจุบันออกมาไม่มาก ตลาดอาจจะไม่มีปฏิกิริยาต่อข่าวที่ออกมา
- หากข่าวถูกปล่อยออกมาพร้อมกันส่งผลต่อทั้งสองสกุลเงินในหนึ่งคู่ ข่าวของทั้งสองสกุลเงินนั้นอาจหักล้างกัน ซึ่งจะทำให้ราคาของคู่นั้นเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในตลาด
- ข้อมูลไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง: สำหรับการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง คุณจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ไม่เช่นนั้นคุณก็จะประเมินความเคลื่อนไหวของตลาดไม่ถูกต้อง
- การตีความข้อมูลที่สามารถใช้งานได้อย่างไม่ถูกต้อง: ซึ่งก็คือ การวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้อง
คุณสามารถดูข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ได้จากที่ไหน?
เทรดเดอร์ส่วนมากจะดู ปฏิทินเศรษฐกิจ คลิกที่หัวข้อข่าวก็จะแสดงรายละเอียดของข่าวรวมถึงการวิเคราะห์และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในสกุลเงินนั้้นๆ ให้ดูเฉพาะข่าวที่มีผลกระทบปานกลางหรือผลกระทบสูงเท่านั้น
นอกจากนี้ คุณยังสามารถดูบทวิเคราะห์จากเทรดเดอร์ท่านอื่นหรือโบรกเกอร์อื่นได้ ตัวอย่างเช่น ในหัวข้อ Stories ของหน้า Instagram FXCL คุณสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสำคัญๆของวันปัจจุบันและเรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสกุลเงินได้
และยังมีอินดิเคเตอร์ที่จะแจ้งคุณให้ทราบเกี่ยวกับข่าวที่จะออกมาซึ่งจะช่วยให้คุณวิเคราะห์ได้ดีมากยิ่งขึ้น:
- Interest rates
- Inflation
- GDP
เทคนิคของการวิเคราะห์ให้ประสบความสำเร็จ
ก่อนที่จะนำการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมาเป็นกิจวัตรประจำวันของคุณ ให้จำสิ่งเหล่านี้ไว้:
- จัดเตรียมรายชื่อข่าวสำคัญไว้ล่วงหน้า ให้ทำในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะดีที่สุด
- ทุกๆเช้า ให้ดูรายชื่อข่าวที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ และเตรียมตัวรับมือความผันผวนในตลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
- เตรียมตัวเลขที่มีการวิเคราะห์ไว้ล่วงหน้าในแต่ละข่าวและเตรียมพร้อมที่จะเปรียบเทียบกับตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
- ไม่รีบจนเกินไปที่จะเทรดในช่วงที่มีข่าวออกมา อินดิเคเตอร์ต่างๆอาจจะออกมาผิดพลาดในช่วงแรกและมีการปรับเปลี่ยนภายหลัง หลังจากที่ข่าวออกมา ให้เตรียมตัวหากเกิดการปรับเปลี่ยนนี้
- ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อยืนยันการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และให้ใช้ Stop Loss เสมอ
สรุป
การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผ่านมาแล้ว ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเป็นการวิเคราะห์จากสภาพเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพตลาดในอนาคต
ถึงแม้ว่าคุณจะมีแผนการเทรดที่ดีมากซึ่งเป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว ให้คุณนำการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานรวมเข้าไปด้วย ซึ่งจะทำให้คุณได้รับกำไรสูงสุดสำหรับการเติบโตของแนวโน้ม และสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางของตลาดอย่างฉับพลันได้
จำไว้ว่าการเทรดในช่วงข่าวออกสามารถนำมาสู่การขาดทุนได้ ให้ทำการศึกษาอย่างละเอียดว่าปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลกระทบต่อสกุลเงินนั้นๆ และสรุปออกมา