กลับไปยังพื้นฐาน
เพื่อที่จะสามารถเทรดในปริมาณมากและเพิ่มจำนวนกำไรในการเทรดให้มากขึ้น เทรดเดอร์จะทำการยืมเงินจากโบรกเกอร์ เงินจำนวนนี้คือเลเวอเรจ ซึ่งจะมาในขนาดที่แตกต่างกันคือ: 1:10, 1:50, 1:100, 1:500, 1:1000
เพื่ออธิบายให้ชัดเจนขึ้นว่าเลเวอเรจทำงานอย่างไร ลองดูตัวอย่างดังนี้
สมมติว่าคุณมีเงิน $10,000 ในบัญชีเทรด คุณต้องการเปิดออเดอร์ 1 standard lot ที่คู่ EURUSD ดังนั้น คุณจึงต้องมีเงิน $100,000 เพื่อที่จะสามารถเทรดได้ แต่ถ้าคุณใช้เลเวอเรจที่ 1:100 จะหมายความว่าคุณสามารถใช้เงินจำนวนน้อยลง 1/100 ในการเปิดออเดอร์ เท่ากับ
$100,000 / 100 = $1,000
เงินจำนวน $1,000 จากบัญชีเทรดจะถูกใช้เป็นเงินหลักประกัน ที่เหลืออีก $99,000 จะเป็นเงินที่ทางโบรกเกอร์ให้ยืม
แน่นอนว่าโบรกเกอร์นั้นจะไม่เสี่ยงด้วยเงินกู้นี้ทั้งหมด นี่เป็นเหตุผลว่าจำนวนเงินที่คุณจะสามารถขาดทุนได้จะถูกจำกัดโดยจำนวนเงินที่เหลือในบัญชีของคุณ อะไรจะเกิดขึ้นในกรณีที่คุณขาดทุน?
ถ้าหากว่าออเดอร์นั้นกำลังขาดทุนอยู่ที่ $9,500 และขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โบรกเกอร์จะทำการเตือนให้คุณทำการฝากเงินเพิ่มเพื่อไม่ให้ถูกล้างพอร์ต การเตือนนี้เรียกว่า Margin Call ถ้าหากคุณไม่สามารถฝากเงินได้ทันเวลา โบรกเกอร์จะทำการปิดออเดอร์ของคุณอัตโนมัติเพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่มเติม สิ่งนี้เรียกว่า Stop Out
Margin Call และ Stop Out เกิดขึ้นเมื่อมีจำนวนเงินไม่พอที่จะใช้เป็นหลักประกันในการเทรด จำนวนเงินหลักประกันที่ต้องใช้จะแสดงเป็นเปอร์เซนต์ซึ่งแต่ละโบรกเกอร์และแต่ละประเภทบัญชีก็จะใช้จำนวนเงินหลักประกันที่แตกต่างกันไป ถ้าหากระดับหลักประกันเป็น 70%/40% หมายความว่า ถ้าหากจำนวนเงินที่เหลือในบัญชีเหลือน้อยกว่า 70% ของจำนวนเงินหลักประกัน จะเกิด Margin Call ขึ้น ถ้าหากเหลือน้อยกว่า 40% จะเกิด Stop Out ขึ้น ออเดอร์ของคุณจะถูกปิดอัตโนมัติ
อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากออเดอร์ถูกปิด
เรามาดูตัวอย่างกัน
สมมติว่าออเดอร์ของคุณขาดทุนและถูกปิดโดย Stop Out ด้วยจำนวนเงินขาดทุน $9,500 ต้นทุนของออเดอร์นี้จะเป็นดังนี้:
$1,000 (หลักประกัน) + $99,000 (เงินกู้ยืม) - $9,500 (ขาดทุน) = $90,500
โบรกเกอร์จะนำเงิน $90,500 รวมถึง $8,500 ที่หายไปเพื่อมาชดเชยจำนวนเงินที่ยืมไปทั้งหมด $99,000 ดังนั้นจำนวนเงินทั้งหมด $9,500 จะถูกหักออกไปจากบัญชีของคุณ และจำนวนเงินที่เหลือคือ $500
จะเกิดอะไรขึ้นหลังปิดออเดอร์ที่คาดการณ์ถูก
ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ออเดอร์ที่เปิดจะกลายเป็นทำกำไร (กำไร $9,500) ดังนั้น การคำนวณจึงเป็นดังนี้:
$1,000 (หลักประกัน) + $99,000 (เงินกู้ยืม) + $9,500 (กำไร) = $109,500
หลังจากปิดออเดอร์ โบรกเกอร์จะถอนเงินออก $99,000 และบัญชีของคุณก็จะมีเงิน:
$1,000 (หลักประกัน) + $9,500 (กำไร) + $9,000 (เงินที่เหลือจากหลักประกัน) = $19,500
ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากขนาดของเลเวอเรจ ?
ใช่และไม่ใช่ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่ที่พฤติกรรมของคุณ เลเวอเรจทำให้คุณเปิดออเดอร์ขนาดใหญ่ได้ หากคุณเสี่ยงอย่างเต็มที่ เงินต้นคุณก็สามารถหายไปได้ในพริบตา
แต่ลองดูในสถานการณ์ที่ต่างกัน สมมุติว่ามีบัญชีเทรด 2 หมายเลขที่มีค่าเลเวอเรจเป็น 1:200 และ 1:1000 ทั้งสองบัญชีเปิดออเดอร์ที่คู่ USDJPY ขนาด 0.1 lot ในกรณีนี้ มูลค่าของ pip สำหรับทั้งสองออเดอร์นี้คือ 0.93
หากออเดอร์วิ่งสวนทางกับคุณ 100 จุด คุณก็จะขาดทุนทั้งสองบัญชี $93 โดยไม่ต้องสนใจขนาดของเลเวอเรจ
ดังนั้น ความเสี่ยงสูงเป็นเพราะค่าเลเวอเรจมากจึงเป็นเรื่องโกหก ความอันตรายนั้นอยู่ที่การขาดระบบการจัดการความเสี่ยงนั่นเอง
สรุป
หากคุณต้องการควบคุมความเสี่ยงก็ดูจะไม่มีเหตุผลในการมุ่งเน้นไปที่ขนาดของเลเวอเรจ การควบคุมขนาดออเดอร์เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนจะเปิดออเดอร์ ควรคำนวนมูลค่าของ pip ในบัญชีเทรดที่จะต้องใช้กับออเดอร์นั้น โดยคุณสามารถใช้ เครื่องมือคำนวณ เพื่อให้คำนวณได้ง่ายขึ้น
การรู้มูลค่าของ pip ล่วงหน้าและจุดไหนที่คุณจะต้องตั้ง stop loss จะช่วยคำนวณยอดขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากยอดเงินมากจนเกินไป คุณก็ควรลดขนาดออเดอร์ลง นี่ก็คือความลับทั้งหมดของการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเลเวอเรจสูงก็ไม่มีบทบาทสำคัญอะไร