ง่ายมาก ให้ใช้ Stop Loss ทุกครั้ง นี่เป็นพื้นฐานของทุกระบบการจัดการความเสี่ยง เมื่อมีการใช้ Stop Loss คุณจะเทรดด้วยความมั่นใจมากขึ้นและมีการปกป้องเงินลงทุนของคุณด้วย
Stop Loss คืออะไร และตั้งค่าอย่างไร
Stop Loss เป็นการที่ทำให้ออเดอร์ของคุณปิดอัตโนมัติเมื่อถึงราคาใดราคาหนึ่ง วิธีนี้มีไว้เพื่อกันเงินลงทุนของคุณในกรณีที่การเทรดนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
ในการตั้ง Stop Loss ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้:
- คลิกขวาที่ออเดอร์และเลือก “Modify or Delete Order” ในเมนู drop-down
- ที่หน้าต่างป๊อปอัป ให้ตั้งค่า Stop Loss level ในหน่วย pip หรือตั้งราคาที่ต้องการให้ปิด
- คลิกที่ปุ่ม “Modify” หลังจากยืนยันแล้วคุณจะเห็นรายละเอียดของออเดอร์มีค่า Stop Loss แสดงขึ้นมา
จะตั้งค่า Stop Loss ที่เท่าไหร่?
เทรดเดอร์แต่ละคนก็จะมีวิธีการตั้งค่าแตกต่างกันไป บางคนตั้งห่างจากราคาเปิดออเดอร์ 50 หรือ 100 pip บางคนทำการวิเคราะห์กราฟก่อนแล้วจึงทำการตั้งค่า
สำหรับคนที่ทำการวิเคราะห์กราฟก่อน มักใช้การตั้งค่าซึ่งจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดดังนี้:
- เทรดโดยใช้รูปแบบกราฟ pin bar - ทำการตั้ง Stop Loss ให้อยู่เหนือหรือต่ำกว่า pin bar
- เทรดโดยใช้รูปแบบกราฟ inside bar - ทำการตั้ง Stop Loss แถวจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของ inside bar หรือ mother bar
กลยุทธ์ Stop Loss
เทรดเดอร์แต่ละคนมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน บางคนเฝ้าดูการเทรดอยู่ตลอดเวลาและตั้ง Stop Loss แบบ trail ที่จะค่อยๆเลื่อนตามที่ราคาวิ่งไป กลยุทธ์นี้ยังคงมีใช้กันอยู่ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงสามกลยุทธ์หลักที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะใช้กัน:
- “ไม่ยุ่ง” หรือ “ตั้งค่าแล้วลืมมันไป”
- กลยุทธ์คุ้มทุน
- 50% Stop Loss
“ไม่ยุ่ง” หรือ “ตั้งค่าแล้วลืมมันไป”
ในกลยุทธ์ทั้งหมด กลยุทธ์นี้ง่ายและเข้าใจได้มากที่สุด คุณแค่ตั้งค่า Stop Loss ตามกลยุทธ์ในการเทรดของคุณแล้วไม่ต้องขยับอะไรมันอีก วิธีนี้มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่:
- รักษา Stop Loss ให้อยู่ในระยะที่เหมาะสม การเฝ้าดูตลาดอาจทำให้คุณอยากปรับระดับ แล้วผลที่ตามมาก็คือคุณอาจจะขาดทุนในไม่ช้า
- เป็นกลยุทธ์ที่ใช้งานได้ง่าย คุณแค่ตั้งค่าไว้ครั้งเดียวแล้วไม่ต้องคำนวณอะไรใหม่หรือวิเคราะห์ตลาดเพิ่มอีก
- มันขจัดแง่มุมเกี่ยวกับความรู้สึกออกไป หากคุณไม่กลับไปวุ่นวายกับการ Stop Loss ของคุณ คุณก็จะไม่ตัดสินใจอะไรเพิ่มตามความรู้สึก
กลยุทธ์คุ้มทุน
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้เทรดส่วนมากคือการติดอยู่กับการขาดทุน พวกเขาไม่สนใจด้วยซ้ำว่าได้กำไรมาเท่าไหร่ สิ่งสำคัญคือการไม่เสียอะไรเลย นั่นคือที่มาของกลยุทธ์คุ้มทุน ผู้เทรดใช้วิธีนี้รอจนกว่าตลาดจะเคลื่อนที่เพียงไม่กี่จุด แล้วตั้ง Stop Loss ที่ราคาเปิดออเดอร์โดยตรง วิธีนี้ทำให้พวกเขามั่นใจว่าพวกเขาจะไม่เสียอะไร และข้อดีของวิธีการนี้ ได้แก่:
- คุณจะไม่เสี่ยงกับอะไรเลย
- แม้ว่าจะไม่มีการวิเคราะห์ คุณก็รู้ว่าจะตั้ง Stop Loss ที่จุดไหน
การไม่มีความเสี่ยงดูน่าดึงดูดใจมาก แต่หากคุณยังต้องการรายได้ที่มั่นคงจากฟอเร็กซ์ คุณก็ควรให้ความสนใจผลกำไรที่คุณจะได้รับด้วย ไม่เพียงแต่จำนวนที่ขาดทุน
50% Stop Loss
กลยุทธ์นี้มีความซับซ้อนกว่ากลยุทธ์อื่น เนื่องจากต้องมีการวิเคราะห์ด้วย วิธีการมีดังนี้:
- คุณตั้ง Stop Loss ในช่วงเริ่มต้นการเทรด
- หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง (โดยปกติคือวันต่อมา) คุณทำการวิเคราะห์ตลาดปัจจุบัน
- คุณเลื่อน Stop Loss ให้เข้ามาใกล้ขึ้นอีก 50% หากราคาวิ่งไปในทิศทางที่เรากำลังได้กำไร
ตัวอย่างเช่น, ถ้าคุณตั้ง Stop Loss ที่ 100 pip จากราคาเปิดและราคาได้วิ่งไปในทิศทางที่คุณได้กำไร ให้คุณตั้ง Stop Loss เหลือ 50 pip เพื่อทำการลดความเสี่ยงลงอีกครึ่งหนึ่ง
วิธีนี้มีข้อดีหลายอย่างด้วยกันคือ:
- ปริมาณการขาดทุนจะลดลงเป็นครึ่งหนึ่ง
- การเทรดของคุณจะมีพื้นฐานอยู่บน price action - และโดยทั่วไปนี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด
- ยังมีช่องว่างราคาอีก 50% จาก Stop Loss เดิมเผื่อสำหรับการผันผวนของราคา
จำนวน 50% นี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ทางที่ดีที่สุดคือให้ทำการประเมินสถานการณ์และเลื่อน Stop Loss ตามจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของ inside bar และ pin bar
สุดท้ายนี้
มีวิธีการตั้ง Stop Loss หรือแม้แต่วิธีการเลื่อนมันอยู่มากมาย และหากจะพูดถึงหัวข้อเกี่ยวกับการเลื่อน Stop Loss ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นจะต้องขึ้นบทความใหม่ทั้งหมด ดังนั้น เราจะพูดถึงหัวข้อดังกล่าวกันในครั้งต่อไป
ในระหว่างนี้ คุณควรระลึกถึงสิ่งสำคัญสองประการ:
- การใช้ Stop Loss เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ไม่เช่นนั้นแล้ว คุณจะไม่สามารถควรคุมความเสี่ยงได้โดยไม่เฝ้าหน้าจอ และคุณก็จะไม่สามารถใช้กลยุทธ์ใด ๆ ได้อีกนอกจาก scalping
- หากตลาดมีความผันผวนสูง คุณควรเฝ้าหน้าจอ ในช่วงที่มี gap การตั้ง Stop Loss จะไม่สามารถปกป้องรายการเทรดของคุณได้ เนื่องจากราคาจะไม่ปรากฏให้เห็นในตลาด โปรดระวัง
จบแล้ว เราหวังว่าคุณจะเข้าใจถึงวิธีการปกป้องเงินลงทุนที่ง่ายที่สุด ครั้งหน้าเราจะพูดถึงการเลื่อน Stop Loss ที่ละเอียดขึ้น