วันนี้เราจะพูดเกี่ยวกับรูปแบบหลักของระดับราคา ดูวิธีหาราคานั้นและวิธีใช้เทรด
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระดับราคา
โดยทั่วไป การซื้อและการขายโดยส่วนใหญ่มักจะมาจากระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นสาเหตุของความผันผวนสูงและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของทิศทางราคาภายในบริเวณเหล่านี้ ระดับเหล่านี้ได้สร้างขอบเขตบางอย่างขึ้น หากราคาทะลุผ่านระดับดังกล่าวผู้เทรดก็จะเข้าเทรดได้อย่างเหมาะสม
ระดับแนวต้านราคาจะต้องทะลุขึ้นไปด้านบน เมื่อคู่เทรดวิ่งขึ้นไปยังระดับนี้ ตลาดก็จะเริ่มการขายและอ่อนค่าลง
และเช่นเดียวกับระดับแนวต้าน เมื่อราคาร่วงจากแนวรับสำคัญ ก็ควรหยุดเทรดขาลง ตลาดก็อาจเริ่มการซื้อและกราฟก็จะวิ่งขึ้นอีกครั้ง
การทะลุและวิ่งขึ้นไปเหนือแนวต้านสำคัญหรือหลุดลงจากแนวรับสำคัญมักจะบอกให้รู้ว่าแนวโน้มอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ประเภทของระดับราคา
สำหรับฟอเร็กซ์ ระดับของราคามี 4 ประเภทหลัก ได้แก่:
- แบบ Horizontal
- แบบ Non-horizontal
- แบบตัวเลขหลักถ้วน (Round number) หรือ ระดับ psychological
- แบบ Dynamic
แบบ Horizontal
คุณรู้จัก horizontal หลักแล้ว ซึ่งก็คือ แนวต้านและแนวรับ แนวรับจะถูกทำเครื่องหมายไว้สูงสุดของกราฟปัจจุบัน แนวต้านจะอยู่ที่ระดับต่ำสุด เนื่องจากกราฟจะวิ่งไปด้านขวา คุณจึงเห็นบริเวณที่ราคาสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ในอนาคต
ยังมี horizontal ประเภทอื่นอีก หากราคาวิ่งในลักษณะ sideway คุณก็สามารถทำเครื่องหมายช่วง sideway ได้ ขอบบนสุดและล่างสุดจะก่อรูปร่างเป็นระดับราคา horizontal
แบบ Non-Horizontal
แบบ Non-horizontal ประกอบไปด้วยเส้นแนวโน้มซึ่งเป็นขอบบนและขอบล่างของการเคลื่อนที่ของราคา
เช่นเดียวกับแนวต้านและแนวรับ เส้นแนวโน้มจะถูกตั้งค่าไว้ที่จุดสูงสุดและต่ำสุดบนกราฟ จุดที่ราคาไปแตะด้านล่างหรือด้านบนขอบของช่วงราคาก็คือแนวรับและแนวต้านแบบหนึ่ง
แบบตัวเลขหลักถ้วน (Round number) หรือ Psychological
ผู้เทรดมักจะเลือกวางตำแหน่งถัดไปจากระดับตัวเลขถ้วน เช่น 100, 150, 200, 225, 250 เป็นต้น จึงเป็นเหตุผลที่ความผันผวนในระดับนี้มักจะเพิ่มมากขึ้น ด้วยลักษณะของ psychological นี้ ผู้เทรดบางรายจะทำเครื่องหมายระดับตัวเลขหลักถ้วน ด้วยวิธีนี้พวกเขาก็จะเตรียมพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงของราคาที่อาจเกิดขึ้นได้
แบบ Dynamic
ระดับราคาประเภทนี้มักถูกสร้างขึ้นภายในโปรแกรมของคุณเอง เมื่อคุณเปิดใช้งาน มันจะปรากฏบนกราฟและเปลี่ยนแปลงไปตามความเคลื่อนไหวของราคาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างระดับราคาประเภทนี้คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) มันจะแสดงจุดที่ราคาเคยอยู่บนกราฟเดียวกันในช่วงเวลาที่ผ่านมา
วิธีตั้งระดับราคา
เนื่องจาก FXCL ใช้โปรแกรมเทรด MetaTrader 4 เราจึงจะบอกวิธีตั้งค่าระดับที่จำเป็นในโปรแกรมนี้ ซึ่งค่อนข้างง่าย:
- เลือกคู่เงินแล้วเปิดกราฟ
- เลือกช่วงเวลา ราย 4 ชั่วโมง หรือ รายวัน
- หาจุดสูงสุดและต่ำสุดบนกราฟ ใช้ตัวเลือกที่ต้องการในเมนูของกราฟ ลากเส้นแนวนอนสำหรับแนวต้านสำคัญและแนวรับสำคัญหรือเส้นแนวโน้มสำหรับช่วงแนวโน้ม
- หากคุณเทรดบนกราฟที่มีช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อคุณกำหนดระดับหลักแล้ว ก็ขยายกราฟแล้วทำตามขั้นตอนที่กล่าวมา นี่คือเหตุผลที่การวาดระดับสำคัญของฟอเร็กซ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
เทรดที่ระดับราคาได้อย่างไร ?
บางทีการเทรดบนระดับแนวรับและแนวต้านอาจเป็นกลยุทธ์ที่ง่ายที่สุดและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเทรด
- ซื้อที่ระดับแนวรับหากแนวโน้มหรือช่วงการเทรดวิ่งขึ้น
- ขายที่่ระดับแนวต้านหากแนวโน้มหรือช่วงการเทรดวิ่งลง
แน่นอนว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะรู้ว่าตลาดจะต้านทานการอ่อนค่าหรือการแข็งค่าในบริเวณระดับราคาได้อย่างชัดเจน ดังนั้น บางครั้งการรอให้แน่ใจว่ากราฟจะชิ่งออกจากเส้นนั้นก็เป็นวิธีที่ดีกว่า รอจนกว่าราคาจะวิ่งขึ้นไปเหนือแนวรับหรือลงไปด้านล่างแนวต้านก่อนที่จะเปิดการเทรด
ข้อมูลเล็กน้อยเกี่ยวกับ False Breakout
การเข้าใจว่าแนวรับและแนวต้านนั้นเป็นพื้นที่มากกว่าระดับนั้นถือว่าสำคัญ บางครั้ง ราคาก็ไม่เด้งจากเส้นโดยทันทีแต่จะเลยไปจากจุดนั้นเล็กน้อยจากนั้นก็เปลี่ยนทิศทาง ซึ่งพฤติกรรมตลาดเช่นนี้จะเรียกว่า false breakout
ผู้เทรดบางรายใช้ false breakout เป็นกลยุทธ์ในการเทรด พวกเขาจะรอจนกว่าราคาเลยจากระดับราคาแล้วเปิดเทรดทันทีที่ตลาดเปลี่ยนทิศทาง หากคุณวางแผนที่จะใช้ false breakout ในการเทรด โปรดตั้ง Stop Loss ลงมาหรือขึ้นไปเล็กน้อยจากระดับที่เทรด
การเทรดบน false breakout เป็นโอกาสที่ดีมาก แต่เนื่องจากมันไม่ได้เป็นไปอย่างปกติ คุณจึงไม่ควรใช้มันเป็นกลยุทธ์ของคุณเพียงอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นคุณจะพลาดการตั้งค่าที่สมบูรณ์แบบในตลาด
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
หากคุณต้องการเพิ่มโอกาสทำกำไรในการเทรดและเพิ่มศักยภาพ คุณอาจทำตามข้อแนะนำดังนี้:
- เทรดบนชาร์ตรายวันหรือราย 4 ชั่วโมง แนวต้านและแนวรับบนชาร์ตที่มีช่วงเวลาสั้น ๆ มักส่งสัญญาณที่ผิดพลาดบ่อยครั้ง พฤติกรรมราคาจะสามารถคาดเดาได้ดีกว่าบนชาร์ตที่มีช่วงเวลาที่ยาวกว่า เนื่องจากระดับราคาบนชาร์ตระยะยาวจะน่าเชื่อถือมากกว่า โอกาสทำกำไรจึงมากขึ้นกว่าเดิม
- ใช้ pullback หากคุณพลาดช่วงเวลาที่หลุดจากระดับแนวต้านหรือแนวรับ โปรดรอจนกว่าราคาจะกลับไปทดสอบอีกครั้ง มันได้ผล เพราะบางครั้งในช่วงเวลาที่หลุดจากบริเวณนั้น ระดับราคาก็จะเปลี่ยนทิศทางได้ แนวต้านที่ราคาวิ่งผ่านอาจกลายเป็นแนวรับในปัจจุบันและแนวรับที่ถูกราคาวิ่งผ่านก็อาจกลายเป็นแนวต้าน
- ตั้งค่า Stop Loss เพราะตลาดไม่สามารถคาดเดาได้ จึงควรตั้งค่า stop loss ไว้ด้านล่างแนวรับหรือเหนือแนวต้านเล็กน้อยไว้เสมอ
- ตังค่า Take Profit หากคุณไม่สามารถติดตามการเทรดได้ตลอดเวลาก็ควรป้องกันการเทรดไว้ล่วงหน้า โดยการตั้ง Take Profit ไว้ด้านล่างแนวต้านเล็กน้อย หากคุณเปิดออเดอร์ซื้อในบริเวณแนวรับ และเช่นเดียวกัน ตั้ง Take Profit ไว้ก่อนระดับแนวรับหากคุณเปิดออเดอร์ขายในบริเวณแนวต้าน
- ใช่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นแนวต้านหรือแนวรับ ผู้เทรดหลายคนใช้อินดิเคเตอร์แบบ 50, 100 และ 200 วันในการเทรด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ช่วงเวลาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัดผ่านความผันผวนของตลาดอาจเพิ่มขึ้น ติดตามระดับเหล่านี้บนกราฟของคุณแล้วใช้เส้นนี้เป็นแนวต้านและแนวรับแบบ dynamic
เส้นล่าง
เมื่อมองอย่างคร่าว ๆ การเทรดที่ระดับแนวต้านหรือแนวรับนั้นดูง่ายมาก แต่อย่าหลอกตัวเอง รายได้ที่มั่นคงจากการเทรดฟอเร็กซ์จะต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ โดยเริ่มจากบัญชีเดโม แล้วจึงย้ายไปที่บัญชีเทรดจริงหลังจากฝึกเทรดได้กำไรไปแล้วสองสามเดือน