หากคุณได้อ่านบทความอย่างน้อยหนึ่งบทความที่พูดถึงข้อดีของฟอเร็กซ์ คุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ “สภาพคล่องสูง” ในตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงิน แต่สำหรับเทรดเดอร์เริ่มต้นแล้ว คำนี้เข้าใจได้ยาก คุณจะทราบได้อย่างไรว่าการที่มีสภาพคล่องสูงนั้นเป็นข้อดีหากคุณไม่เข้าใจความหมายของคำๆนี้?
เราจะมาพูดถึงแนวความคิดนี้และจะบอกให้คุณทราบว่าเวลาใดที่เหมาะที่สุดสำหรับการเปิดและถือออเดอร์เมื่อมองถึงระดับสภาพคล่องในตลาด
สภาพคล่องคืออะไร
เราสามารถเล่าถึงประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจและจุดกำเนิดของสภาพคล่องรวมถึงการนำสภาพคล่องมาปรับใช้ในหลายสาขาได้ แต่เราคิดว่าการอธิบายสภาพคล่องด้วยคำง่ายๆจะสามารถทำให้คุณเข้าใจได้มากกว่า
สภาพคล่องโดยพื้นฐานคือระดับของอุปสงค์และอุปทาน หากมีระดับสูง คุณสามารถทำการซื้อขายสินค้าใดๆได้อย่างรวดเร็ว สำหรับในฟอเร็กซ์ การมีสภาพคล่องสูงจะทำให้คุณแน่ใจว่าคุณสามารถทำการซื้อขายสกุลเงินใดๆเมื่อไหร่ก็ได้แม้กระทั่งการซื้อขายที่ปริมาณสูง นี่เป็นเหตุผลที่การมีสภาพคล่องสูงในตลาดฟอเร็กซ์ถือเป็นข้อดี
ประเภทหลักของสภาพคล่อง
เมื่อพูดถึงสภาพคล่องในตลาดการเงิน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจประเภทของสภาพคล่องหลัก ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ สภาพคล่องของตลาดและสภาพคล่องของเงินทุน
- สภาพคล่องของตลาด คือ ความสามารถในการเทรดเร็วโดยไม่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปกติจะขึ้นอยู่กับปริมาณการเทรด จำนวนเทรดเดอร์และความลึกของตลาด
- สภาพคล่องของเงินทุน หมายถึง การมีเงินสดหรือเงินทุนระยะสั้นเพื่อดำเนินตามภาระผูกพันทางการเงิน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความสามารถของผู้เข้าร่วมตลาดในการได้รับเงินทุนที่จำเป็นเพื่อรักษากิจกรรมการเทรดหรือครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ผลกระทบต่อสภาพคล่องในฟอเร็กซ์
จากข้อความด้านบนเราทราบแล้วว่าการมีสภาพคล่องสูงช่วยให้เราสามารถทำการซื้อขายที่ปริมาณสูงได้ ความเร็วในการซื้อขายในตลาดนั้นมีผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของราคา ดังนั้นสภาพคล่องในตลาดจึงมีผลกระทบต่อความผันผวนด้วย ทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาบนกราฟนั้นจะขึ้นอยู่กับความผันผวนดังนี้:
- หากมีสภาพคล่องสูง กราฟจะวิ่งโดยไม่มีการกระโดดรุนแรง
- หากมีสภาพคล่องต่ำ กราฟจะวิ่งผันผวนและคุณจะเจอ slippage และ gap
ให้จำไว้ดังนี้ หากมีสภาพคล่องสูงความผันผวนจะต่ำ หากมีสภาพคล่องต่ำความผันผวนจะสูง
ให้ระมัดระวังการเทรดในช่วงที่มีข่าวประกาศออกมาด้วย ถึงแม้ว่าสภาพคล่องนั้นจะสูง ราคาสามารถกระโดดอย่างรุนแรงได้ ในช่วงเวลานี้เทรดเดอร์หลายคนไม่ต้องการเสี่ยงและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเทรด จึงทำให้ระดับของอุปสงค์และอุปทานลดลง ทำให้สภาพคล่องลดลงด้วย
สภาพคล่องของสกุลเงินที่แตกต่างกัน
ฟอเร็กซ์เป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดเนื่องจากเงินนั้นเป็นที่ต้องการจากทั่วทั้งโลก ในทุกช่วงเวลา คนจะทำการแลกเปลี่ยนเงินด้วยสินค้าต่างๆ นี่เป็นเหตุผลว่าสกุลเงินนั้นเป็นที่ต้องการตลอดเวลา และไม่แปลกใจว่าปริมาณการเทรดของฟอเร็กซ์นั้นวัดกันในหน่วยล้านล้าน
สกุลเงินที่มีความต้องการมากที่สุดในโลกคือดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) การซื้อขาย 62% ของทั้งหมดเป็นสกุลเงิน USD นี่เป็นเหตุผลว่าสกุลเงินหลักจะเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงในตลาด และคุณจะพบเจอเหตุการณ์ที่สกุลเงินเหล่านี้ขาดสภาพคล่องได้น้อยมาก
สภาพคล่องในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
สภาพคล่องมีหลายระดับในแต่ละวัน แน่นอนว่า มีปัจจัยที่มีอิทธิพลหลายอย่าง แต่โดยปกติแล้วช่วงการเทรดที่มีสภาพคล่องต่ำมักเป็นช่วงตลาดเอเชีย การเพิ่มขึ้นของความต้องการมักใกล้กับช่วงตลาดลอนดอนที่มักถือผ่านช่วงตลาดนิวยอร์กและปล่อยออกในช่วงท้าย
เมื่อการพิจารณาอินดิเคเตอร์เหล่านี้ ช่วงเวลายุโรปและอเมริกาถือว่าเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด กราฟ ณ เวลานี้จะเคลื่อนที่อย่างราบรื่นและมักมีทิศทางเป็นไปตามคาด ซึ่งหมายความว่าตลาดมีโอกาสน้อยที่จะไม่วิ่ง
ระดับของสภาพคล่องจะลดลงอย่างมากหลังจากเข้าใกล้ช่วงเวลาในการเทรดทั้งหมด ตลาดจะเริ่มคาดเดาไม่ได้และระดับของความเสี่ยงก็จะเพิ่มสูงขึ้น นี่คือเหตุผลว่าผู้เทรดแบบ day trade มักไม่เปิดออเดอร์ค้างไว้ข้ามคืน มีโอกาสที่ความผันผวนจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และผลที่ตามมาก็คือโอกาสที่คุณจะขาดทุนเป็นจำนวนมากนั้นมีสูงมาก
ฤดูกาลมีผลต่อสภาพคล่องอีกด้วย ในช่วงปลายฤดูร้อนและช่วงก่อนวันหยุดปีใหม่ ปริมาณความต้องการสกุลเงินจะลดลงมาก และมีคนเทรดในตลาดน้อย เราจะเรียกตลาดในช่วงนี้ว่า “ผอม” และ “อ่อนแอ” เทรดเดอร์ฟอเร็กซ์หลักบางแห่งในตลาดมักจะใช้ “ความอ่อนแอ” นี้เป็นข้อดี เนื่องจากปริมาณการเทรดน้อย ดังนั้นจึงง่ายที่จะทำให้ราคาวิ่งไปในทิศทางที่ต้องการ และเนื่องจากเหตุผลนี้ เทรดเดอร์ฟอเร็กซ์หลายคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงเวลานี้
ข้อเสียของการมีสภาพคล่องต่ำ
เมื่อมีความต้องการสกุลเงินต่ำ เงื่อนไขการเทรดก็มักจะแย่ลง โดยปกติมักจะเกิดขึ้นในช่วงสภาพคล่องต่ำและค่าสเปรดกว้างขึ้น หากคุณเทรดค่าสเปรดลอยตัว คุณควรเปิดออเดอร์ในช่วงที่มีสภาพคล่องสูง
ความต้องการที่มีมากก็ส่งผลต่อความเร็วในการประมวลผลออเดอร์ สภาพคล่องที่ลดลง ออเดอร์ก็จะถูกประมวลผลช้าลงและมีโอกาสเกิด requote มากขึ้น
สรุป
วันนี้เราได้เรียนรู้อะไร ? สภาพคล่องมากทำให้เราได้เปรียบหลายข้อ ได้แก่:
- ตลาดเคลื่อนที่ราบรื่น ไม่มี slippage หรือ gap
- ค่าสเปรดและ requote ต่ำลง
- ความเร็วในการประมวลผลออเดอร์เพิ่มขึ้น
คุณอาจบอกว่าคุณควรหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงที่มีสภาพคล่องต่ำ การไม่เปิดออเดอร์ในช่วงที่มีการออกข่าวหลักทางเศรษฐกิจ การเทรดในตลาดลอนดอนและนิวยอร์กเป็นหลัก และพยายามหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงก่อนวันหยุดเทศกาล เช่นเดียวกับช่วงวันหยุดภาคฤดูร้อนและก่อนปีใหม่ ก็จะดีกว่า
และนี่คือข้อสรุปสำหรับวันนี้ เราหวังว่าเรื่อง “สภาพคล่อง” จะชัดเจนขึ้นสำหรับคุณและคุณจะสามารถปรับใช้ความรู้นี้ในการเทรดเพื่อพัฒนาศักยภาพของคุณเอง