คำอธิบายเล็กน้อยเกี่ยวกับอัตราดังกล่าว
ใช่ว่าการจัดการความเสี่ยงเพียงอย่างเดียวที่จะช่วยคุณได้โดยปราศจากการตั้งค่าอัตราส่วนความเสี่ยงต่อกำไร แม้จะมีการวิเคราะห์ตลาดที่สมบูรณ์แบบ แต่ในไม่ช้าคุณก็จะติดลบหากคุณละเลยกฎนี้
แล้วมันคืออะไร ? จากหัวข้อ ค่อนข้างชัดเจนว่านั่นก็คืออัตราระหว่างกำไรที่อาจเกิดขึ้นกับยอดขาดทุน อาจบอกได้ว่า คุณตั้งค่า stop loss ที่ 20 pip และตั้งค่า take profit 60 pip จากราคาเปิด ก็จะได้อัตราส่วนเป็น 1:3 หากคุณตั้งค่าทั้ง 2 ระดับที่ความห่างเดียวกันจากราคาเปิด อัตราส่วนระหว่างกำไรที่อาจเกิดขึ้นกับยอดขาดทุนก็จะเท่ากัน
ในขณะเดียวกัน คุณอาจต้องการได้กำไรมากกว่ายอดขาดทุน 10 เท่า แต่โอกาสที่ราคากระโดดจะเป็นอย่างไร ? ด้วยการตั้งค่า take profit ห่างจากจุดเข้าซื้อเป็น 10 เท่าของ stop loss คุณก็มีโอกาสเกือบ 100% ที่จะปิดออเดอร์ด้วยการขาดทุน
การตั้งค่า stop loss ใกล้เกินไปก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน เนื่องด้วยความผันผวนของราคาที่อาจเกิดได้ตลอดเวลา ออเดอร์ของคุณอาจไปแตะระดับ SL ก่อนที่ราคาจะวิ่งกลับมายังทิศทางที่คุณต้องการได้ การตั้งราคาให้มีช่องว่างอยู่บ้างจึงสำคัญสำหรับการหาทางหนีทีไล่
ข้อดีของกฎนี้
เมื่อคุณเปิดเทรดคุณรู้ว่ามันอาจได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ได้ จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดโอกาสที่จะเทรดกำไรจึงอยู่ที่ประมาณ 50% หากออเดอร์ของคุณกำไรและขาดทุนในเวลาใกล้เคียงกัน โดยเฉลี่ยแล้วก็ไม่ถือว่าคุณได้กำไร แต่คุณมาเทรดฟอเร็กซ์เพื่อทำกำไร ใช่หรือไมม่ ? เช่นนั้นคุณก็จะต้องเพิ่มจำนวนเปอร์เซ็นต์กำไรของคุณ
และอัตราส่วนความเสี่ยงต่อกำไรจะช่วยคุณได้อย่างแม่นยำ หากออเดอร์ของคุณได้กำไรเกินกว่ายอดขาดทุนอย่างน้อย 2 เท่าแล้ว การขาดทุน 2 ครั้งก็จะถูกครอบคลุมด้วยกำไรเพียงครั้งเดียว และหลังจากกำไรครั้งหนึ่งแล้วเกิดการขาดทุนครั้งหนึ่ง คุณก็ยังคงทำเงินได้อยู่ดี
การคำนวณของอัตราส่วน
คุณอาจทำได้สามวิธีที่แตกต่างกัน:
- เลือก SL และ TP จากนั้นตรวจสอบอัตราส่วนความห่างของทั้งสองค่า โดยปกติแล้ว วิธีนี้จะใช้เมื่อเทรดเดอร์ตั้งค่าเข้าซื้อและจุดปิดออเดอร์ตามระดับ key price ในกรณีนี้ คุณควรตั้งค่าอัตราส่วนที่น้อยที่สุดในแผนการเทรดแล้วเปิดเทรดหากเป็นไปตามกฎเท่านั้น ซึ่งก็คือ หากคุณวางแผนอัตราส่วนไว้ที่ 1:3 คุณก็ไม่ควรเปิดออเดอร์หากกำไรน้อยกว่ายอดขาดทุน 3 เท่า
- ตั้งค่า stop loss ตามกลยุทธ์หรือการวิเคราะห์ทางเทคนิค และตั้ง take profit ตามอัตราส่วนความเสี่ยงต่อกำไรจากแผนของคุณ ซึ่งก็คือ อัตราส่วนของคุณควรเป็น 1 ต่อ 2 และตั้งค่า stop loss ห่าง 30 pip จากจุดเข้าซื้อแล้วตั้ง take profit ห่าง 60 pip
- ในบางกรณี take profit ถูกคำนวณโดยการใช้สูตรพิเศษ ตัวอย่างเช่น หากคุณ เทรด gap ก็ควรตั้ง TP ใ้หห่างอย่างน้อย 1.5 เท่าจาก stop loss สำหรับกรณีพิเศษเช่นนี้ อัตราส่วนจากแผลการเทรดของคุณอาจแตกต่างจากกลยุทธ์เล็กน้อย
หากคุณใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการเทรด คุณก็จะต้องใช้วิธีแรก ในกรณีนี้ คุณจะต้องทำตามขั้นตอนง่าย ๆ สามขั้นตอน ดังนี้:
- ตั้งค่า stop loss คุณสามารถใช้กลยุทธ์ใดก็ได้ตามที่คุณสะดวก โดยทั่วไปแล้ว เทรดเดอร์จะใช้ระดับราคาที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ แนวต้าน แนวรับและค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
- ตั้งค่า take profit ใช้ระดับเดียวกันกับย่อหน้าก่อนนี้
- วัดระยะห่างจากจุดเข้าซื้อเพื่อตั้งระดับและแยกกำไรที่อาจเกิดขึ้นด้วยยอดขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น โดยตัวเลขผลลัพธ์ควรถึงระดับต่ำที่สุดที่คุณตั้งไว้ ซึ่งก็คือ อัตราส่วน 1:3 คุณควรได้ค่าอย่างน้อย 3 เป็นต้นไป
วิธีตั้งค่าอัตราส่วนที่ถูกต้อง
คุณรู้แล้วว่าด้วยอัตราส่วน 1:1 คุณจะยังคงขาดทุน นั่นก็เพราะ โดยปกติแล้ว ยอดขาดทุนของออเดอร์มักจะเกินกว่ายอดที่ทำได้
หากต้องการทำกำไร อัตราส่วนน้อยที่สุดที่ควรใช้ก็คือ 1:2 หรืออีกตัวเลือกก็คือ 1:3 เว้นแต่กลยุทธ์ในกรณีพิเศษอย่างเช่น การเทรด gap ตามที่บรรยายไปด้านบน
เมื่อคุณเลือกอัตราส่วนของตนเองและใส่เข้าไปในแผนการเทรดได้แล้ว ความสำเร็จของคุณจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามกฎนี้โดยตรง หากคุณละเลย แผนจะไม่สำเร็จและคุณก็จะพลาด มีเพียงการสร้างแผนและทำตามอย่างเคร่งครัดเท่านั้นที่จะทำให้คุณสำเร็จได้