Bulls และ Bears
คุณจะพบคำศัพท์เหล่านี้ค่อนข้างบ่อย Bulls คือเทรดเดอร์ที่เปิดออเดอร์ซื้อ Bears ก็คือผู้ขาย ดังนั้น หากตลาดหรือแนวโน้มเป็นขาขึ้นก็แสดงว่าราคากำลังขึ้น ในทางกลับกัน อารมณ์ขาลงก็หมายถึงแนวโน้มกำลังอ่อนค่า
หากคุณสับสนในตอนแรก ลองจินตนาการวิธีที่กระทิง (bull) ดันบางอย่างขึ้นด้วยเขาของมัน ในขณะที่หมีจะใช้อุ้งเท้ากดลงนั่นเอง
Long และ Short Positions
เทรดเดอร์จะใช้แนวทางนี้ค่อนข้างบ่อย อาจเรียกได้ว่าเป็นศัพท์ที่ง่ายที่สุดสำหรับวันนี้ :
- Long positions ก็คือการเทรดซื้อ
- Short positions ก็คือการเทรดขาย
Price Levels
หากต้องการวิเคราะห์พฤติกรรมราคาในอนาคตด้วยความเป็นไปได้มากที่สุด คุณจะต้องมีเครื่องนำทางพิเศษ นั่นคือเหตุผลที่มีระดับราคา (price levels) ตัวอย่างเส้นบอกราคาที่มักใช้กัน ได้แก่:
- Trend line = เส้นแนวโน้ม
- Support = แนวรับ
- Resistance = แนวต้าน
- Moving Average = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นต้น
พฤติกรรมตลาดบริเวณระดับราคาจะบอกสัญญาณหลักในการเปิดและปิดออเดอร์ หรือสำหรับการตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit ซึ่งเราจะพูดถึงในภายหลัง
Highs และ Lows
ราคาของฟอเร็กซ์มักจะเคลื่อนที่เป็นคลื่น ส่วนที่สูงที่สุดของคลื่นจะเรียกว่าจุดสูงสุด (high) ในขณะที่ส่วนที่อยู่ล่างสุดจะเรียกว่าจุดต่ำสุด (low) ซึ่งเป็นจุดที่เทรดเดอร์จะใช้ตั้งระดับราคา
Support และ Resistance
ระดับราคาเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์ตลาดด้านเทคนิค ราคามีแนวโน้มของรูปแบบแน่ชัด จึงเป็นเหตุผลว่าหากตลาดวิ่งหลุดจากระดับที่ชัดเจนได้ยาก เกิดเป็นรูปแบบจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุด จึงเป็นไปได้มากว่าในอนาคตราคาจะวิ่งกลับโดยไม่ทะลุเส้นนี้
เส้นแนวรับ (support) จะถูกตั้งไว้ก่อนถึงจุดต่ำสุด และเส้นแนวต้าน (resistance) จะถูกวางไว้ก่อนถึงจุดสูงสุด
Stop Loss และ Take Profit
เครื่องมือที่จำเป็นจริง ๆ เป็นออเดอร์พิเศษที่จะปิดไปเองเมื่อถึงจุดที่ราคาวิ่งไปแตะระดับที่ตั้งไว้ :
- Stop Loss ตั้งไว้ต้านการเคลื่อนที่ของออเดอร์ของคุณ เป็นการจำกัดการขาดทุนของออเดอร์
- Take Profit ตั้งไว้ในทิศทางเดียวกับออเดอร์ของคุณ มันจะปิดอัตโนมัติในระดับที่ตั้งไว้เพื่อปกป้องกำไรที่ออเดอร์ของคุณทำได้
Moving Average
ระดับราคาที่มีประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นราคาที่ผ่านมาแล้ว ตัวอย่างเช่น MA200 แสดงจุดที่ราคาผ่านมาแล้ว 200 แท่งเทียน เนื่องจากราคามีแนวโน้มที่จะวิ่งแบบเดิมได้อีก ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็จะสามารถใช้เพื่อวิเคราะห์ด้านเทคนิค ดังนี้ :
- หากราคาอยู่เหนือระดับดังกล่าว ก็ควรเปิดออเดอร์ซื้อ
- หากกราฟวิ่งลงไปด้านล่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็ควรเปลี่ยนไปเทรดออเดอร์ขาย
Margin
เป็นการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมให้กับออเดอร์ของคุณ เมื่อมีการประมวลผลออเดอร์ โบรกเกอร์จะแยกส่วนยอดบาลานซ์ของคุณเพื่อรักษาออเดอร์ ขนาดมาร์จินจะขึ้นอยู่กับค่าเลเวอเรจโดยตรง หากค่าเลเวอเรจคือ 1:100 มาร์จินจะเป็น 1% ของปริมาณออเดอร์
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเปิดออเดอร์ที่ 0.1 standard lot ด้วยค่าเลเวอเรจ 1:100 ปริมาณออเดอร์จะเท่ากับ $10,000 และมาร์จินจะเท่ากับ $100
Margin Call และ Stop Out
ในการรักษาออเดอร์ที่เปิดไว้ คุณจะต้องมียอดมาร์จินที่แน่นอน หากเงินทุนของคุณเริ่มลดลงในช่วงที่ออเดอร์ติดลบ คุณจะถูกเตือนให้เพิ่มค่ามาร์จิน ซึ่งเรียกว่า Margin Call เมื่อคุณได้รับข้อความดังกล่าว คุณอาจเลือกดำเนินการได้สองอย่าง :
- ฝากเงินทันทีหรือโอนเงินระหว่างบัญชีเทรด เพื่อให้มียอดเงินเพียงพอที่จะรองรับออเดอร์ของคุณจนกว่าจะวิ่งไปในทิศทางที่คุณเปิดไว้
- ปิดออเดอร์ที่ขาดทุนหนึ่งออเดอร์หรือมากกว่านั้นเพื่อลดการกดค่ามาร์จินของคุณ
หากคุณไม่เลือกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสถานการณ์ตลาดไม่วิ่งกลับไปในทิศทางที่คุณคาดการณ์ไว้ ออเดอร์ของคุณจะเริ่มถูกปิดไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มจากออเดอร์ที่ขาดทุนมากที่สุด จนกว่าระดับมาร์จินจะกลับมาอยู่ในระดับที่เพียงพอ ซึ่งออเดอร์ที่ถูกปิดไปนั้น เรียกว่า Stop Out
ไม่ใช่ทุกบทความที่จะปิดท้ายด้วยความสุนทรีเสมอไป อย่างไรก็ตาม โปรดจำไว้ว่าการเทรดฟอเร็กซ์ไม่ใช่แค่เกม คุณอาจต้องพบกับความล้มเหลวและการเตรียมตัวด้วยความระมัดระวังนั้นสำคัญมากซึ่งจะเป็นหนทางเดียวเพื่อให้คุณอยู่รอดและก้าวต่อไปยังอนาคตที่สดใสได้