คุณควรสร้างแผนที่ถูกต้องและทำตามมันโดยไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับคุณว่าคุณจะใช้วิธีอะไรบ้างในแผนนี้ อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดพื้นฐานของระบบการจัดการความเสี่ยงที่คุณควรจะนำไปใช้ด้วย ไม่เช่นนั้นแผนนี้จะไม่มีประโยชน์เลย เรามาดูแนวคิดนี้กัน
เกี่ยวกับการลงทุน
คุณอาจจะได้ยินเกี่ยวกับกฎพื้นฐานนี้มาแล้ว แต่เราจะย้ำกันอีกครั้ง - ในแน่ใจว่าคุณลงทุนในจำนวนเงินที่คุณไม่กลัวที่จะสูญเสียมัน
หากคุณลงทุนด้วยเงินที่คุณต้องใช้ทานอาหารวันพรุ่งนี้ การเทรดแต่ละเทรดจะมีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง อารมณ์ต่างๆจะทำให้การตัดสินใจเทรดผิดพลาดและในที่สุดเงินลงทุนของท่านก็จะหมดไป
ตั้งระดับความเสี่ยงในทุกการเทรด
คุณไม่ควรเสี่ยงด้วยเงินทั้งหมดในเทรดเดียว ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะได้กำไรเกือบจะ 100% ก็ตาม การเทรดแต่ละเทรดของคุณควรจะเสี่ยงเพียงแค่ 1-2% ของเงินลงทุนทั้งหมด เช่น ถ้าเงินลงทุนของคุณคือ $1,000 คุณควรจะเทรดไม่เกิน $10-$20 ต่อรายการ
ในการควบคุมความเสี่ยงนี้ ให้คุณปรับโวลุ่มในหน่วยล็อตของออเดอร์ หากคุณคิดว่ามันยากในการคำนวณค่าล็อตที่เหมาะสม คุณสามารถใช้ เครื่องคำนวณ ได้
ให้คุณควบคุมความเสี่ยงนี้เสมอในการเทรด นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้ว่าคุณจะได้กำไรติดๆกันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะเพิ่มโวลุ่มให้มากขึ้น
ตรวจสอบอัตราความเสี่ยงต่อกำไรอย่างระมัดระวัง
ไม่ใช่ว่าทุกโอกาสในการเทรดจะคุ้มค่าต่อการลงทุน ก่อนที่จะทำการเทรด ให้ทำตามสามขั้นตอนที่สำคัญดังนี้:
- ตั้ง Stop Loss
- ตั้ง Take Profit
- คำนวณอัตราความเสี่ยงต่อกำไร
เมื่อคุณตั้งระดับราคาตามในขั้นตอนด้านบนแล้ว คุณจะทราบว่าคุณมีโอกาสขาดทุนหรือได้กำไรมากเท่าไหร่ในแต่ละการเทรด สำหรับการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม อัตราความเสี่ยงต่อกำไรควรจะเป็นอย่างน้อย 1:3 ตัวอย่างเช่น หาก Stop Loss ตั้งไว้เป็น 10 pip จากราคาเปิด ดังนั้น Take Profit ควรจะเป็นอย่างน้อย 30 pip ขึ้นไปจากราคาเปิดเดียวกัน
ใช้เลเวอเรจอย่างถูกต้อง
เลเวอเรจทำให้สามารถเปิดเทรดโวลุ่มขนาดใหญ่ได้โดยที่ใช้เงินลงทุนน้อย ยิ่งใช้เลเวอเรจสูงคุณยิ่งสามารถทำกำไรได้มากขึ้นในแต่ละเทรด แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย
มันสำคัญมากในการเรียนรู้ว่าควรจะใช้ ขนาดเลเวอเรจ ในแต่ละการเทรดเป็นเท่าไหร่ มันคุ้มค่าหากใช้เลเวอเรจที่ต่ำสำหรับโวลุ่มที่สุดหรือรายการเทรดที่ใช้เวลามากกว่าหนึ่งวัน
คุณควรจะให้ความสนใจเกี่ยวกับความผันผวนของคุ่ที่เทรดด้วย หากมีความผันผวนมาก เลเวอเรจที่ใช้ก็ควรจะต่ำลงด้วย ดังนั้นสำหรับคู่เทรดหลักให้ใช้เลเวอเรจที่ต่ำกว่าคู่เทรด exotic
จำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคู่เทรด
หากคุณเทรดหลายคู่ในเวลาเดียวกัน คุณควรจะจำไว้ว่าการเคลื่อนไหวของราคาอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ เมื่อคุณทำการเทรดคู่สกุลเงินที่มีความเกี่ยวข้องกัน ให้จำไว้ดังนี้:
- รายการเทรดสามารถหักล้างกันเองได้เมื่อสกุลเงินหลักหรือสกุลเงินรองเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเปิดรายการเทรดของคู่ USDCAD และ NZDUSD หากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว รายการเทรดทั้งสองรายการของคุณจะหักล้างกัน และคุณจะไม่ได้กำไรเลย
- หากคุณเทรดคู่ที่มีสกุลเงินหลักหรือสกุลเงินรองเหมือนกัน ยอดเงินบาลานซ์ของคุณอาจจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อค่าของสกุลเงินนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อ AUDUSD และ AUDCAD ในเวลาเดียวกัน หากค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียตกลงมา ยอดบาลานซ์ของคุณก็จะลดลงเป็นสองเท่า
ควบคุมอารมณ์
นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการความเสี่ยงเพื่อที่จะทำให้ทำตามแผนที่วางไว้ได้ หากคุณเทรดโดยใช้อารมณ์มาเกี่ยวข้อง คุณจะไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ ดังนั้นคุณควรจะเรียนรู้ในการเทรดโดยปราศจากอารมณ์ ซึ่งการจดบันทึกประวัติเทรดสามารถช่วยคุณในเรื่องนี้ได้
ให้จำไว้ว่าการขาดทุนนั้นก็เป็นส่วนที่สำคัญในการเทรดฟอเร็กซ์เช่นเดียวกัน สิ่งที่อธิบายข้างต้นในบทความนี้ถึงแม้จะไม่ช่วยทำให้จำนวนการขาดทุนนั้นลดลงแต่จะช่วยสอนให้คุณลดปริมาณการขาดทุนลงได้
การจัดการความเสี่ยงของคุณสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เมื่อคุณวางแผนแล้ว ให้ทดสอบที่บัญชีเดโมก่อนและให้แน่ใจว่ามันใช้การได้ดี ขอให้โชคดี!